Advertisement

Advertisement

ยอดขายรถยนต์ในไทย มกราคม – เมษายน 63 ลดลง 34.2% รวม 230,173 คัน

ยอดขายรถยนต์ในไทย มกราคม – เมษายน 63 ลดลง 34.2% รวม 230,173 คัน

Advertisement

Advertisement

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนเมษายน 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 30,109 คัน ลดลง 65% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 8,830 คัน ลดลง 74.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 21,279 คัน ลดลง 58.4% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 16,733 คัน ลดลง 59.4%

ประเด็นสำคัญ 

  • ตลาดรถยนต์เดือนเมษายนมีปริมาณการขาย 30,109 คัน ลดลง 65%
  • ตลาดรถยนต์สะสม 4 เดือน มีปริมาณการขาย 230,173 คัน  ลดลง 34.2% 

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2563

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 30,109 คัน ลดลง 65% 

อันดับที่ 1 โตโยต้า11,084 คัน
ลดลง 58.9%
ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
6,865 คัน
ลดลง 55.4%
ส่วนแบ่งตลาด 22.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า2,648 คัน
ลดลง 76.6%
ส่วนแบ่งตลาด  8.8%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 8,830 คัน ลดลง 74.7%                                 

อันดับที่ 1 โตโยต้า
2,906 คัน
ลดลง 71.2%ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า
2,229 คัน
ลดลง 74.1%ส่วนแบ่งตลาด 25.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน
1,072 คัน
ลดลง 56.9%
ส่วนแบ่งตลาด 12.1%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 21,279 คัน ลดลง 58.4%                     

อันดับที่ 1 โตโยต้า
8,178 คัน
ลดลง 51.5%
ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
6,865 คัน
ลดลง 55.4%
ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด1,205 คัน
ลดลง 73.1%ส่วนแบ่งตลาด  5.7%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 16,733 คัน ลดลง 59.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
7,019 คัน
ลดลง 53.1%ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
6,267 คัน
ลดลง 56.0%
ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด
1,205 คัน
ลดลง 73.1%ส่วนแบ่งตลาด 7.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 1,575 คัน
โตโยต้า 753 คัน –  อีซูซุ 322 คัน – มิตซูบิชิ 219 คัน – ฟอร์ด 211 คัน – เชฟโรเลต 45 คัน – นิสสัน 25 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 15,158 คัน ลดลง 58.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า
6,266 คัน
ลดลง 52.2%
ส่วนแบ่งตลาด 41.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ
5,945 คันลดลง 55.0%
ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด
994 คัน
ลดลง 73.7%ส่วนแบ่งตลาด  6.6%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 2563

1.  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 230,173 คัน ลดลง 34.2%                            

อันดับที่ 1 โตโยต้า
67,245 คัน
ลดลง 40.6%ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ49,263 คัน
ลดลง 18.3%
ส่วนแบ่งตลาด 21.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า
31,326 คัน
ลดลง 24.2%ส่วนแบ่งตลาด 13.6%

2.  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 87,215 คัน ลดลง 36.6%                                 

อันดับที่ 1 ฮอนด้า26,188 คัน
ลดลง 15.9%
ส่วนแบ่งตลาด 30.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
21,567 คัน
ลดลง 47.4%
ส่วนแบ่งตลาด 24.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน
9,763 คัน
ลดลง 27.3%
ส่วนแบ่งตลาด 11.2%

3.  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 142,958 คัน ลดลง 32.6%                     

อันดับที่ 1 อีซูซุ
49,263 คัน
ลดลง 18.3%
ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
45,678 คัน
ลดลง 36.7%
ส่วนแบ่งตลาด 32.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
11,031 คัน
ลดลง 37.0%
ส่วนแบ่งตลาด 7.7%

4.  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 113,696 คัน ลดลง 34.6%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
45,887 คัน
ลดลง 17.8%
ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
39,752 คัน
ลดลง 38.2%
ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
11,031 คัน
ลดลง 37.0%ส่วนแบ่งตลาด 9.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 11,415 คัน
โตโยต้า 4,073 คัน – มิตซูบิชิ 2,845 คัน – อีซูซุ 2,085 คัน – ฟอร์ด 1,509 คัน – เชฟโรเลต 589 คัน –นิสสัน 314 คัน

Advertisement

Advertisement

5.  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 102,281 คัน ลดลง 32.4%

อันดับที่ 1 อีซูซุ
43,802 คัน
ลดลง 15.9%
ส่วนแบ่งตลาด 42.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า
35,679 คัน
ลดลง 34.9%
ส่วนแบ่งตลาด 34.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ
8,186 คัน
ลดลง 35.9%ส่วนแบ่งตลาด 8.0%

อุสาหกรรมยานยนต์ ในประเทศไทย เดือนเมษายน ชี้ให้เห็นชัด ด้วยยอดขายลดลงอย่างน่าตกใจ ยอดผลิตลดลง 83.55% ตกต่ำสุดในรอบ 30 ปี เมื่อเทียบเคียงกับปี 2533

ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนเมษายน ลดลง 65.02% รวม 30,109 คัน ยอดผลิตเฉพาะเมษายน ลดลงกว่า 83 %

มกราคม – เมษายน 2563 รถยนต์มียอดขาย 230,173 คัน ลดลง 34.17 % ยอดผลิตสะสมเดือนมกราคม – เมษายน 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 478,393 คัน ลดลง 32.78%

ผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ทำให้เกิดการล็อคดาวน์เมือง และประเทศ โชว์รูมรถยนต์ถูกปิดตัวลง โรงงานปิดตัว รถยนต์ผลิตไม่ได้ คงไม่แปลกที่ยอดผลิตจะตกต่ำขนาดนี้ รวมถึงยอดขายที่ลดลงกว่า 65%

แม้ว่าเดือนพฤษภาคม จะเริ่มเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ แต่มีหลายค่ายที่กำลังลดการผลิต และ ลดกะ กลางคืน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ทำให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างช้าๆ สิ่งที่จะโดนอันดับแลกคือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทขนส่งรถยนต์ และอื่นๆอีกเพียบ ที่ต้องรับวิบากกรรมจากวิกฤติครั้งนี้

การประเมินสถานการณ์อุสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยคาดว่าในสถานการณ์แรก ไตรมาส 2 ประเทศไทยผลิตได้ 1,400,000 คัน ส่งออก 700,000 คัน ขายในประเทศ 700,000 คัน

หากเลวร้ายกว่านั้น คือฟื้นตัวในไตรมาส 3 ผลิตในเทศ 1,000,000 คัน ส่งออก 500,000 คัน ขายในประเทศ 500,000 คัน

มาตรการที่สภาอุสาหกรรมยานยนต์ ประเทศไทย เตรียมเร่งรัดให้รัฐบาลจัดการ

  • คาดตลาดรถยนต์ปี 2563 ติดลบ 23%
  • การลดภาษีสรรพสามิตลงอีก 10% ทำให้ราคารถต่ำลง จูงใจผู้บริโภค หรือการลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อมาประกอบลง จากปัจจุบันที่เก็บอยู่ 10%
  • ขอให้รัฐชดเชยค่าแรง ให้ลู
  • ค้าประกันสังคม 62% สำหรับโรงงานที่หยุด หรือหยุดเพียงไม่กี่เดือน
  • มาตรการด้านสาธารณูปโภค/ที่ดิน เช่น ลดค่าเอฟที เลื่อนการจ่ายค่าน้ำ-ไฟไปอีก 4 เดือน ลดค่าจดจำนองที่ดิน การยกเลิกค่า demand charge ไปถึงสิ้นปี

แต่หากเทียบกับประเทศอินเดีย ผลจากการล๊อคดาวน์ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทำให้ยอดขายในประเทศลดลงเป็น 0 คัน ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในยุโรป ลดลงอย่างน่าตกใจ ในเดือนเมษายน การจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ลดลง 78.3% หรือเพียง 292,182 คัน

ยอดขายรถยนต์ ในประเทศ เดือนเมษายน

  • อิตาลี ลดลง 97.6%
  • สหราชอาณาจักร ลดลง 97.3%
  • สเปน ลดลง 96.5%

ยอดรถยนต์ลงทะเบียนรถใหม่ ในเยอรมันลดลง 61.1% และ ใน ฝรั่งเศสลดลง 88.8%

กลุ่มแบรนด์ยอดขายเมษายน

  • กลุ่มโฟล์คสวาเก้น (VOWG_p.DE) ลดลง 75%
  • กลุ่ม เรโนลต์ (RENA.PA) ลดลง 79.5%
  • กลุ่ม PSA (PEUP.PA) ลดลง 82.4%
  • BMW ลดลง 69.7%
  • Daimler Mercedes-Benz AG, Daimler Truck AG และ Daimler Mobility AG ลดลง 80.1%

ลอนดอน (รอยเตอร์) รายงานยอดขายรถยนต์ในสหราชอาณาจักร ตกต่ำสุดในรอบ 74 ปี นับตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 1946 ยอดขายเดือนเมษายน ลดลงกว่า 97% โดยโรงงานและตัวแทนจำหน่ายปิดตัวลงเนื่องจากการระบาดของโรค coronavirus ตามข้อมูลเบื้องต้นจากองค์กรอุตสาหกรรม

อุสาหกรรมรถยนต์ในอินเดีย ต้องรับผลกระทบไวรัส COVID-19 อย่างหนักหน่วง โดยมียอดขายครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ทั่วประเทศ เดือนเมษายน คือ 0 คัน Maruti Suzuki รายงานว่ายอดขายในประเทศ 0 คัน ยอดส่งออกเพียง 632 คัน และ Mahindra ยอดส่งออก 733 คัน ยอดขายในประเทศ 0 คันเช่นกัน

สำหรับยอดขาย Mini Car หรือ Kei Car รถยนต์ขนาดเล็ก คิดเป็น 4 ใน 10 ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดร่วงถึง 34% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2020 สมาคม Mini vehicle ของญี่ปุ่นกล่าวในแถลงการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้โรงงานทั่วญี่ปุ่นปืดตัวลงตั้งแต่เดือนมีนาคม ทำไปสู่ปัญหาการจัดหาอะไหล่ ที่ล่าช้า รวมถึงความต้องการที่น้อยลงของผู้บริโภค

ยอดขายรถยนต์ในไทยที่ผ่านมา

  • ยอดขายเดือนเมษายน 2563 ทั้งหมด 30,109 คัน
  • ยอดขายเดือนมีนาคม 2563 ทั้งหมด 60,105 คัน
  • ยอดขายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทั้งหมด 68,271 คัน
  • ยอดขายเดือนมกราคม 2563 ทั้งหมด 71,688 คัน
  • ยอดขายเดือนธันวาคม 2562 ทั้งหมด 89,285 คัน
  • ยอดขายเดือนพฤศจิกายน 2562 ทั้งหมด 79,299 คัน
  • ยอดขายเดือนตุลาคม 2562 ทั้งหมด 77,122 คัน
  • ยอดขายเดือนกันยายน 2562 ทั้งหมด 76,195 คัน
ยอดขายยอดขาย
มกราคม 2562มกราคม 2563
78,061 คัน71,688 คัน
กุมภาพันธ์ 2562กุมภาพันธ์ 2563
82,324 คัน 68,271 คัน
มีนาคม 2562มีนาคม 2563
103,164 คัน60,105 คัน
เมษายน 2562เมษายน 2563
86,076 คัน30,109 คัน

ยอดขายเดือนเมษายน 2563 รวม 60,105 คัน

  1. Toyota – 11,053 คัน
  2. ISUZU – 6,865 คัน
  3. HONDA 2,648 คัน
  4. Mitsubishi 2,019 คัน
  5. Nissan 1,804 คัน
  6. Ford 1,207 คัน
  7. MG 1,156 คัน.
  8. Suzuki 1,114 คัน
  9. Mazda 1,012 คัน
  10. Hino 524 คัน
  11. Chevrolet 476 คัน
  12. KIA 61 คัน
  13. Hyundai 58 คัน
  14. Lexus 31 คัน
  15. Porsche 29 คัน
  16. Subaru 27 คัน
  17. TATA 9 คัน
  18. Peugeot 7 คัน
  19. SsangYong 4 คัน
  20. JAC 4 คัน
  21. Mercedes benz 0 คัน
  22. Volvo 0 คัน
  23. BMW 0 คัน

ขอบคุณข้อมูล TOYOTA

Advertisement

Advertisement

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้