Advertisement

Advertisement

ไม่ต่อภาษีรถยนต์ ได้ไหม ?

ไม่ต่อภาษีรถยนต์ ได้ไหม ?

Advertisement

Advertisement

หัวข้อแรงไปหน่อย แต่อยากนำเสนอเพราะมีสปอนเซอร์ ถ้าพูดแบบตรงๆคือ ไม่ต่อภาษีก็ได้ สำหรับรถใหม่ป้ายแดงใช้ได้เพียง 30 วันเท่านั้น

หลายท่านคงเข้าใจว่า หากหมด 30 วันแล้วยังไม่จดทะเบียนก็ไม่ผิดแถมหัวหมอลากยาวบางคนถึงปีก็มี แต่นั้นผิดเต็มๆ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 ฐานใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียน มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ยิ่งไปกว่านั้นหากพบป้ายแดงปลอมโดนปรับ 3,000 บาท

  • ห้ามขับนอกเขต เช่นไปต่างจังหวัด เนื่องจากป้ายแดงตามกฎหมายแล้วถือเป็นรถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน เป็นเพียงเครื่องหมายพิเศษที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่บริษัทจำหน่ายรถอนุญาตให้ใช้เฉพาะกรณีเพื่อขายหรือเพื่อซ่อมเท่านั้น แต่หากออกนอกจังหวัดต้องใช้คู่กับสมุดคู่มือประจำรถและใบอนุญาตให้ใช้รถ หรือได้รับอนุญาตเป็นครั้งคราว (เคสนี้แอดโดนมาแล้ว)
  • ห้ามขับกลางคืน ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 27 ผู้ใดมีรถไว้เพื่อขาย หรือเพื่อซ่อมถ้าจะขับเองหรือให้ผู้อื่นขับ เพื่อการนั้นต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน และให้ขับได้ ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ปัจจุบันรถติดมากจึงอนุโลมให้ถึง 2 ทุ่ม

สรุปป้ายแดงยังไงก็โดนแน่นอน ข้อบังคับเยอะ

สำหรับโทษไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่เกิน 1,000 บาท ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ก็ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้ ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท จะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท (แอดก็โดนเหมือนกันต่อช้าไป 2 วันเอง )

ไม่อยากไปขนส่ง ก็ต่อภาษีออนไลน์

การต่อภาษีรถยนต์ หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่ต้องทำตามกฎหมายสำหรับผู้ที่มีรถยนต์เอาไว้ในครอบครองไม่ต่างกับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ขณะที่เจ้าของรถที่ละเลยการต่อภาษีรถก็ต้องเสียค่าปรับไปตามระเบียบ สาเหตุที่ต้องมีกฎหมายบังคับเช่นนี้เป็นเพราะภาษีรถยนต์จะเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับเจ้าของรถและบุคคลที่สามในกรณีที่เกิดความเสียหายหรือประสบภัยทางรถยนต์นั่นเอง

การต่อภาษีรถยนต์นั้นบังคับให้ทำทุกปี โดยสามารถต่อล่วงหน้าได้ก่อนทะเบียนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งนอกจากเจ้าของรถอาจถูกปรับในกรณีต่อล่าช้าแล้ว รถยนต์ยังอาจจะถูกระงับการใช้ทะเบียนเมื่อเจ้าของรถขาดชำระติดต่อกันนานเป็นระยะเวลา 3 ปี ทำให้ต้องเดินเรื่องขอทะเบียนใหม่ให้ยุ่งยาก แต่ในปัจจุบัน การต่อภาษีรถยนต์ทำได้ง่ายและสะดวกกว่าเดิม โดยเฉพาะบริการต่อภาษีรถยนต์ทางออนไลน์ที่กรมการขนส่งทางบกพัฒนาขึ้น เพื่อลดความยุ่งยากในการดำเนินการ ทั้งสะดวกสบาย รวดเร็ว และไม่ต้องเดินทางไปต่อภาษีที่ขนส่ง โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของ กรมการขนส่งทางบก แล้วคลิกเมนู บริการผ่านอินเทอร์เน็ต

2. คลิกเมนู ชำระภาษีรถผ่านอินเตอร์เน็ต

3. ลงทะเบียนสมาชิก สำหรับผู้ที่ไม่เคยต่อทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์มาก่อน

4. คลิก ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ในเมนูช่อง บริการ

5. เลือกช่องทางชำระเงิน โดยสามารถชำระเงินต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ทั้งบัญชีธนาคารออนไลน์ , ชำระผ่านบัตรเครดิต , ชำระด้วยใบแจ้งชำระภาษีรถยนต์ , ชำระผ่านเคาน์เตอร์หรือตู้เอทีเอ็มของธนาคาร รวมไปถึงบริการชำระผ่านแอปฯ โทรศัพท์มือถืออีกด้วย

6. หลังจากชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ทางกรมการขนส่งทางบกจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินมาให้ทางไปรษณีย์ โดยมีค่าบริการเพิ่มเติมดังนี้

  • ค่าจัดส่งเอกสาร 40 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท กรณีหักผ่านบัญชีธนาคาร
  • ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร ร้อยละ 2 รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (กรณีชำระผ่านบัตรเครดิต)

อย่างไรก็ตาม การต่อภาษีรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ ยังคงจำกัดเฉพาะรถโดยสารบางประเภทดังต่อไปนี้

  • ประเภทรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล
  • ประเภทรถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี
  • ประเภทรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี
  • ประเภทรถ ค้างจ่ายภาษีรถยนต์ไม่เกิน 1 ปี (ชำระภาษีล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน)

แต่นอกจากช่องทางออนไลน์แล้ว เรายังคงสามารถรับบริการต่อภาษีรถยนต์ได้ทั้งที่กรมการขนส่งทางบก , ที่ทำการไปรษณีย์ , เคาท์เตอร์เซอร์วิส , ไฟแนนซ์ , ห้างบิ๊กซีบางสาขา , ห้างเซ็นทรัลรามอินทราและเซ็นทรัลเวิลด์ และห้างพาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ตามเวลาให้บริการที่กำหนด รวมไปถึงธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อีกด้วย

ในส่วนของเอกสารที่ต้องใช้ในการขอต่อภาษีรถยนต์จะประกอบไปด้วย

1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา ในกรณีที่รถยังอยู่ในช่วงเช่าซื้อกับไฟแนนซ์

2. หลักฐานการเอาประกันภัยตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แต่ถ้ายังไม่ต่อ พรบ. ทางกรมขนส่งทางบกก็อำนวยความสะดวกให้ทำ พรบ. ออนไลน์ได้ หรือจะทำผ่านตัวแทนหรือนายหน้าจากภายนอกเลยก็ได้

3. ในกรณีที่เป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 7 ปี จะต้องไปขอใบตรวจสภาพรถยนต์ โดยผ่านการตรวจสภาพรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) โดยค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถเพื่อขอใบ ตรอ. จะแตกต่างกันตามประเภทรถ เช่น รถจักรยานยนต์จะอยู่ที่ 60 บาท ขณะที่รถยนต์น้ำหนักไม่เกิน 2000 กก. จะอยู่ที่ 200 บาท แต่ถ้าหากรถมีน้ำหนักมากกว่านั้นจะเสียค่าตรวจอยู่ที่ 300 บาท เป็นต้น

4. หากเป็นรถติดแก๊สต้องมีเอกสารการรับรองติดตั้งแก๊ส และตรวจสภาพจากวิศวกรแนบมาด้วย ซึ่งรถที่ติดตั้งระบบ LPG จะสามารถอยู่ได้ 5 ปีต่อการตรวจสภาพ 1 ครั้ง ขณะที่รถที่เป็นระบบ CNG จำเป็นต้องตรวจสภาพทุกปี


ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ของรถแต่ละประเภทนั้นจะมีราคาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อต่อภาษีรถยนต์ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

1) รถกระบะ 4 ประตูหรือรถเก๋ง ที่มีทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปไม่เกิน 7 ที่นั่ง ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ (cc) โดยมีอัตราดังนี้

  • 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท
  • 601 – 1800 cc ราคา cc ละ 1.50 บาท
  • เกิน 1800 cc ราคา cc ละ 4 บาท

ตัวอย่างการคำนวณ รถยนต์อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 1,500 cc

  1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600 × 0.5 = 300 บาท
  2. 601-1500 cc ละ 1.50 บาท = (1,500 – 600) = 899 × 1.50 = 1,348.50 บาท

จ่ายภาษีทั้งหมด 300 + 1,348.50 = 1,648.50 บาท

สำหรับรถที่มีอายุเกินกว่า 6 ปี จะได้ส่วนลดภาษี 10% , เกินกว่า 7 ปี ลด 20%, เกินกว่า 8 ปี ลด 30% ฯลฯ แต่หากเสียภาษีล่าช้าก็จะถูกปรับเดือนละ 1% ของราคาภาษี นับเศษวันเป็น 1 เดือน เช่นกัน

2) รถกระบะ 2 ประตูทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว ประเภทรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นกับน้ำหนักรถ โดยเจ้าของรถสามารถเช็กน้ำหนักรถยนต์ได้จากเล่มรถ ดังนี้

  • 501-750 กก. เสียภาษี 450 บาท
  • 751-1000 กก. เสียภาษี 600 บาท
  • 1001-1250 กก. เสียภาษี 750 บาท
  • 1251-1500 กก. เสียภาษี 900 บาท
  • 1501-1750 กก. เสียภาษี 1050 บาท
  • 1751-2000 กก. เสียภาษี 1350 บาท
  • 2001-2500 กก. เสียภาษี 1650 บาท

3) รถตู้ทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นกับน้ำหนักรถ ดังนี้

  • น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กก. อัตราภาษี 1300 บาท
  • น้ำหนักรถเกิน 1800 กก. อัตราภาษี 1600 บาท

4) สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ปัจจุบันเก็บปีละ 100 บาท ต่อคัน ซึ่งล่าสุดกรมการขนส่งจะมีการปรับเรื่องต่อภาษี ต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ใหม่เร็ว ๆ นี้

นอกจากจะต้องดำเนินการต่อภาษีรถยนต์แล้ว เจ้าของรถยังมีหน้าที่ติดป้ายสี่เหลี่ยมไว้ที่หน้ารถ เพื่อยืนยันว่า รถคันนี้ได้รับการต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อย มิเช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมายหากไม่ติดป้ายพ.ร.บ. รถยนต์ ให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนนั่นเอง 

Advertisement

Advertisement

ใส่ความเห็น

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้