Advertisement

Advertisement

ปตท. เตรียมโชว์แพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้า ในงาน มอเตอร์โชว์ 2022 ก่อนลุยผลิต EV ปี 2567 ร่วม Foxconn และ HORIZON PLUS

ปตท. เตรียมโชว์แพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้า ในงาน มอเตอร์โชว์ 2022 ก่อนลุยผลิต EV ปี 2567 ร่วม Foxconn และ HORIZON PLUS

Advertisement

Advertisement

PTT เตรียมโชว์แพลตฟอร์ม รถยนต์ไฟฟ้า ในงานมอเตอร์โชว์ 2022 หลังจากเป็นข่าวประกาศจับมือกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2564 ในโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของ PTT (ปตท.) บริษัทพลังงานอันดับหนึ่งของประเทศไทย ที่จับมือกับ Foxconn (ฟ็อกซ์คอนน์) และ ฮอริษอน พลัส ทั้งนี้รอการยืนยันอีกครั้ง สำหรับแพลตฟอร์มไฟฟ้า

มีรายงานว่า ARUN PLUS (อรุณ พลัส) ซึ่งเป็นบริษัทลูกทางด้านการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ เตรียมจัดแสดงรถยนต์ ภายในงาน มอเตอร์โชว์ 2022 ภายใต้แบรนด์ NETA

บริษัท อรุณ พลัส จำกัด บริษัทย่อยของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และบริษัท หลินยิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล อินเวสเมนท์ จำกัด บริษัทในกลุ่มของบริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด หรือฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี กรุ๊ป ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ฮอริซอน พลัส จำกัด (HORIZON PLUS) โดยมีสัดส่วนการลงทุนของอรุณ พลัส ที่ร้อยละ 60 และหลินยิ่ง ร้อยละ 40 ตามลำดับ ตามแผนความร่วมมือด้านการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย

HORIZON PLUS มีเป้าหมายที่จะก่อตั้งโรงงานผลิต EV บนพื้นที่กว่า 350 ไร่ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย โดยมีกำหนดแล้วเสร็จและสามารถผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 4 ล้อ (รถยนต์นั่งส่วนบุคคล) ออกสู่ตลาดได้ภายในปี 2567 มีกำลังการผลิตที่ 50,000 คันต่อปีในระยะแรก และจะขยายกำลังการผลิตไปถึง 150,000 คันต่อปีภายในปี 2573 เพื่อให้สอดรับกับความต้องการใช้ EV ทั้งภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียนที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

Advertisement

Advertisement

Horizon Plus คาดว่าจะสามารถเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) ได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 และเริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2567

ตามแผนธุรกิจโครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ปตท.ได้เริ่มรุกเข้าสู่ EV Value Chain โดยจับมือพันธมิตรทางธุรกิจ ในการพัฒนา EV Charging Platform, EV Station รวมถึงการลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และความร่วมมือกับ Foxconn จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ เป็นรากฐานสำคัญสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคตและเป็นต้นแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านพลังงานให้กับประเทศต่อไป

ในระยะแรก PTT และ Foxconn ตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และส่วนประกอบหลักต่าง ๆ แบบ end-to-end ด้วยเงินร่วมลงทุนขั้นต้น 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป

ปัจจุบันทาง Foxconn มีรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ 3 โมเดล ภายใต้แบรนด์ Foxtron ครอบคลุม C SUV EV ขนาดกลาง , Model E หรือ ซีดานไฟฟ้าขนาดกลาง – ใหญ่ และ Model T รถโดยสารไฟฟ้า

  • Foxconn มีชื่อบริษัทว่า Hon Hai Precision Industry Co., Ltd. ใช้ชื่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า Foxconn เป็นบริษัทข้ามชาติ ผู้ผลิตและรับผลิตอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Tucheng, New Taipei, ในประเทศไต้หวัน (Taiwan) จัดเป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์ และรวมถึง Circuit boards ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ภายใต้สถาปัตยกรรม MIH Open Platform แพลตฟอร์มแยกส่วน สามารถปรับใช้กับแชสซีส์ของรถยนต์ไฟฟ้าได้หลากหลาย รวมทั้รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในรูปแบบอื่นๆ

จุดเด่นของแพลตฟอร์ม MIH EV Open Platform

  • มอเตอร์ขนาด 95 kW, 150 kW และ 200 kW สำหรับเพลาหน้า และ 150 kW, 200 kW, 240 kW และ 340 kW สำหรับเพลาหลัง
  • ฐานล้อปรับขนาดความยาวระหว่าง 2.75 – 3.10 เมตรได้ แทร็คที่ปรับความกว้างจาก 1.59 เมตร ถึง 1.70 เมตร ส่วนความสูงถึงใต้้ท้องรถ อยู่ที่ 12.6 เซนติเมตร ถึง 21.1 เซนติเมตร
  • สามารถเลือกระบบขับเคลื่อนได้หลากหลายทั้ง ล้อหน้า / ล้อหลัง / สี่ล้อ
  • รองรับแบตเตอรี่ที่หลากหลายรวมทั้ง Solid State
  • ตัวถังใช้ระบบ mega cast ที่ใช้ชิ้นสวนน้อยที่สุด
  • รองรับ 5G และ 6G ในอนาคต พร้อมระบบซอฟต์แวร์อัพเดทแบบ OTA และระบบเชื่อมต่อแบบ V2X (vehicle-to-anything)

คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. แจ้งความคืบหน้าตลาดหลักทรัพย์ฯว่า Arun Plus ได้จัดตั้งบริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด (Horizon Plus) เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2565 มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3,220 ล้านบาท โดย Arun Plus ถือหุ้น 60% และ Lin Yin ถือหุ้น 40%

https://www.car250.com/neta-v-smart-ev-th-23-03.html

Advertisement

Advertisement

ใส่ความเห็น

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้