ไฟฟ้าไม่ฟรี! โซลาร์ถูกเบรก รัฐฯชะลอรับซื้อ รวมถึงพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เหตุราคาถูกเกินไป

ไฟฟ้าไม่ฟรี! โซลาร์ถูกเบรก รัฐฯชะลอรับซื้อ รวมถึงพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เหตุราคาถูกเกินไป
Spread the love

Advertisement

Advertisement

สรุปข่าว: กพช. เห็นชอบแนวทางใหม่ด้านพลังงานหมุนเวียนและโครงสร้างราคาก๊าซฯ

  • ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

    • ที่ประชุม กพช. มีมติให้ ชะลอการรับซื้อไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน (แสงอาทิตย์-ลม) และขยะอุตสาหกรรม ปริมาณ 1,488.5 เมกะวัตต์ และบางส่วนจาก 2,180 เมกะวัตต์ที่เคยอนุมัติไว้
    • เหตุผล: ต้นทุนผลิตไฟฟ้าลดลง จึงควรทบทวนอัตรารับซื้อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
    • สนพ. จะศึกษาและทบทวนราคารับซื้อใหม่ก่อนดำเนินการในแผน PDP ฉบับใหม่
  • เจรจาลดอัตรารับซื้อไฟฟ้ากับเอกชน

    • กำหนดให้ กกพ., 3 การไฟฟ้า และ สนพ. เจรจาปรับลดราคาอ้างอิงจาก กฟผ. กับเอกชนที่ได้รับสิทธิ 2,180 MW
    • โดยคำนึงถึงผลกระทบทั้งค่าไฟของประชาชนและการลงทุนที่เกิดขึ้นแล้วของภาคเอกชน
  • โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติใหม่

    • โรงแยกก๊าซจะทำหน้าที่เสมือนโครงสร้างพื้นฐานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ (Utility)
    • ราคาก๊าซฯ ที่ออกจากโรงแยกควรต่ำกว่าราคาเฉลี่ยก๊าซในอ่าวไทย โดยใช้มูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่แยกได้ (C2+) มาช่วยลดราคา
    • แบ่งการคำนวณต้นทุนก๊าซฯ ตามการใช้งาน:
      • ไฟฟ้า/NGV: ใช้ Pool Gas (เฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจากแหล่งในประเทศ, เมียนมา, LNG)
      • อุตสาหกรรม: ใช้ราคา LNG จริง
      • LPG: ใช้ราคาอ่าวไทย
  • ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

    • ช่วยลดค่าไฟฟ้า
    • ไม่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี
    • รัฐบาลเตรียมหารือเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สศช., ปตท., กกพ. ฯลฯ เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติและเสนอ กพช. ต่อไป

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้รับทราบรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงและขยะอุตสาหกรรมตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด สำหรับปี 2566 – 2573 และเนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทแสงอาทิตย์และพลังงานลมมีราคาลดลง
ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ กกพ. 3 การไฟฟ้า และ สนพ. เจรจากับผู้ประกอบการเอกชนที่ กกพ. ประกาศชื่อให้เป็นผู้ได้รับสิทธิขายไฟฟ้ารายการ 2,180 เมกะวัตต์ โดยอ้างอิงราคาที่ กฟผ. ได้ดำเนินการ เพื่อปรับลดอัตราการรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวลง ตามข้อสังเกตที่นายพีระพันธุ์ฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ เสนอ ทั้งนี้ให้คำนึงที่ผลกระทบค่าไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้น และผลกระทบกับผู้ประกอบการที่ได้ลงทุนไปแล้วด้วย

ที่ประชุม กพช. เห็นชอบให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมในกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ภายใต้รูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565-2573 ในส่วนที่ยังไม่ดำเนินการปริมาณไฟฟ้า 1,488.5 เมกะวัตต์ และส่วนที่เหลือจากการรับซื้อในกลุ่ม 2,180 เมกะวัตต์ ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 โดยมอบหมายให้ สนพ. ศึกษาทบทวนอัตรารับซื้อไฟฟ้าให้สอดคล้องกับต้นทุนปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ทั้งนี้ จะไม่มีการรับซื้อไฟฟ้าจนกว่าแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ได้รับความเห็นชอบจาก กพช.

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลศึกษาหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ และความคืบหน้าแนวทางการกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติใหม่ ซึ่งมีสาระสำคัญของแนวทาง ดังนี้

(1) โรงแยกก๊าซธรรมชาติทำหน้าที่เสมือนเป็นโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ (Utility) ในการให้บริการปรับปรุงคุณภาพและแยกผลิตภัณฑ์ให้กับผู้รับบริการทุกราย โดยกำหนดผลตอบแทนการลงทุนจากการประกอบกิจการอยู่ในระดับที่เหมาะสม

(2) ราคาก๊าซธรรมชาติในประเทศที่ออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ (Sales Gas) ที่นำมาคำนวณใน Pool Gas ควรมีราคาที่ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย (Gulf Gas) โดยนำมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ C2+ ที่ได้รับจากการจำหน่ายมาเป็นส่วนลดราคา (Discount) ในสัดส่วนที่เหมาะสม

(3) กำหนดต้นทุนก๊าซธรรมชาติให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละภาคส่วน ดังนี้ ก๊าซฯ ที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซฯ ให้ใช้ต้นทุนราคาก๊าซฯ จากอ่าวไทย (Gulf Gas) ก๊าซฯ ที่นำไปใช้ในการผลิต LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ใช้ต้นทุนราคาก๊าซฯ จากอ่าวไทย ก๊าซฯ สำหรับภาคไฟฟ้า และ NGV ให้ใช้ราคา Pool Gas ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณของก๊าซฯ โดยเรียงลำดับความสำคัญจากแหล่งก๊าซฯ ในประเทศ ก๊าซฯ จากเมียนมา และ LNG ตามลำดับ และก๊าซฯ สำหรับภาคอุตสาหกรรมให้ใช้ต้นทุนจากราคา LNG ซึ่งใกล้เคียงราคาที่ซื้อขายจริงในปัจจุบัน ซึ่งการกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติใหม่นี้ จะส่งผลให้ราคาค่าไฟฟ้าถูกลง และไม่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี

โดยการดำเนินการต่อไป สนพ. จะหารือกับหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง อาทิ สศช. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), กลุ่มอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการค้าก๊าซธรรมชาติ เพื่อสรุปหลักการและจัดทำแนวทางการดำเนินงานในรายละเอียด เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาต่อไป

infoquest

Advertisement

Advertisement

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้