Advertisement

Advertisement

GAC EN0.146 รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแรงต้านอากาศต่ำสุดในโลก

GAC EN0.146 รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแรงต้านอากาศต่ำสุดในโลก

Advertisement

Advertisement

GAC Group หรือ Guangzhou Automobile Group Co., Ltd. ผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังในจีน และร่วมทุนกับ Fiat, Honda, Isuzu, Mitsubishi และ Toyota ได้ประกาศว่า เตรียมเปิดตัว GAC EN0.146 รถยนต์ที่มีค่าต้านทานลมต่ำที่สุดในโลก ในราคาประหยัด และ ผลิตจำนวนมาก

  • อักษรย่อในรถ Cd. ซึ่งมาจากตัวเต็ม Drag Coefficient แปลเป็นภาษาไทยจะหมายถึง ‘สัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศ’ เป็นตัวเลขที่ติดทศนิยมมาด้วย 2 ตำแหน่ง รถที่ออกแบบได้ถูกต้องตามหลักอากาศพลศาสตร์หรือถูกต้องตามหลักแห่งการเคลื่อนที่ของกระแสลม ถ้าจะเอาตัวเลขสวย ๆ ก็มักจะมีค่า Cd. ที่ต่ำกว่า 0.30
  • รถยนต์ที่ขายกันอยู่ในปัจจุบัน ทำได้ต่ำถึง 0.25 นั่นหมายความว่า รถคันนี้จะมีความสามารถในการแหวกม่านอากาศได้ดีกว่ารถที่มีค่า Cd. ระดับ 0.28, 0.30 หรือ 0.32 แต่ไม่ได้การันตีว่ารถคันนั้นจะทรงตัวได้ดีกว่า เพราะเรื่องสัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศ เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยสร้างสมดุลในการทรงตัวของรถ เมื่อรถวิ่งอยู่ในความเร็วช่วงหนึ่ง ๆ เท่านั้น
  • เท่าที่มีมารถยนต์ที่มีค่า Cd. หรือค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศต่ำสุดในตอนนี้คือ Rimac C_Two EV 1,914 แรงม้า คือ cd.0.02 ที่จะเปิดตัว 1 มิถุนายน 2021 นี้และเป็น Super Car ราคาแพงมีจำนวนจำกัด

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม GAC ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะมีการผลิตรถยนต์ ที่มีแรงต้านทานลมที่ต่ำที่สุดในโลก หรือ ค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศต่ำสุด รถคันนี้น่าจะเป็นการนำดีไซน์จากรถต้นแบบ ENO.146 ภายใต้การออกแบบ TEARDROP ON THE BLADE

EN0.146 เคยเปิดตัวในงาน Guangzhou Auto Show 2019 ในฐานะ “รถยนต์นั่งไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่มีความต้านทานลมต่ำระดับโลก” ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันวิจัย GAC โดยอิสระได้สร้างสถิติโลกด้วยค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านลม 0.146cd.

EN0.146 ถูกวางตำแหน่งซีดานสปอร์ต 6 ที่นั่ง แบบ 2 + 1 + 2 + 1 พร้อมการออกแบบที่ล้ำสมัย ประตูปีกนกขนาดใหญ่ ล้ออัลลอยแบบปิด เบาะนั่งนิรภัย

การตกแต่งภายในห้องโดยสาร พร้อมบ่งบอกถึงความเป็นไซไฟ พวงมาลัยทรงเหลี่ยมจับคู่กับแผงหน้าปัดแบบ Full Digital หน้าจอควบคุมส่วนกลางเต็มไปด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เทคโนโลยีการแสดงผล AR-HUD ล่าสุด

อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบว่าจะสามารถคงการออกแบบไว้ในเวอร์ชันผลิตจริงหรือไม่ ยังไงโปรดติดตามกันอีกที

Advertisement

Advertisement

ใส่ความเห็น

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้