Advertisement

Advertisement

เตรียมลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย Geely, JAC และ Jiangling Motors (JMC) พร้อมกระบะ รถบรรทุก

เตรียมลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย Geely, JAC และ Jiangling Motors (JMC) พร้อมกระบะ รถบรรทุก

Advertisement

Advertisement

Geely Geometry E

JAC Ruifeng MPV

JMC Dadao

บีโอไอ ผนึกกำลัง กนอ. บุกโรดโชว์ดึงการลงทุนจีน ปฏิบัติการเชิงรุกต่อเนื่องจากโรดโชว์ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จเกินคาด นักธุรกิจจีนแห่เข้าร่วมสัมมนากว่า 500 คน พร้อมรุกเจาะ บริษัทเป้าหมาย ต่างยืนยันเดินหน้าลงทุนในอุตสาหกรรม EV และอิเล็กทรอนิกส์ เผยจีนยื่นขอส่งเสริม ลงทุนไตรมาสแรกกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท

  • Changan Automobile ประกาศลงทุนในไทย 9,800 ล้านบาท พร้อมดันขายรถยนต์ไฟฟ้า
  • GAC AION พร้อมสร้างโรงงานในไทย ลงทุนกว่า 6,400 ล้านบาท ดันรถยนต์ไฟฟ้า
  • Geely, JAC และ Jiangling Motors (JMC) เตรียมลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในไทย
  • JAC และ JMC เป็นผู้ผลิตรถเชิงพาณิชย์ เช่น รถปิ๊กอัพ รถบรรทุก และรถยนต์ครบทุกเซ้็กเมนต์ในไทย
  • Geely Holding Group เป็นบริษัทยานยนต์ข้ามชาติสัญชาติ จีน ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในหางโจว มณฑลเจ้ อเจียง มีรถยนต์ในเครือได้แก่ Geely Auto , Geometry , Maple และ Zeekr Volvo Cars , Polestar , Lynk & Co , Proton และ Lotus
  • JAC Motors เป็นผู้ผลิตรถยนต์และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ของจีน บริษัทตั้งอยู่ในเหอเฟย์มณฑลอานฮุย โดยมีรัฐบาลจีนเป็นเจ้าของ
  • Jiangling Motors (JMC) ผู้ผลิตรถยนต์ สัญชาติจีน ตามรายงานของบริษัทและสื่อมวลชน ปัจจุบันมีสัดส่วนการถือหุ้น JMC ถือหุ้น 51% และ Ford ถือหุ้น 49% และเน้นการผลิตรถบรรทุก และรถกระบะ

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยผลการเดินทาง โรดโชว์ส่งเสริมการลงทุน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เมืองธุรกิจสำคัญ ได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ หางโจว เซินเจิ้น และกว่างโจว ระหว่างวันที่ 3 – 7 เมษายน 2566 ว่า บีโอไอพร้อมด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้เดินทางไปจัดสัมมนาใหญ่ที่นครเซี่ยงไฮ้ พร้อมพบกับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และผู้ผลิตชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของจีน รวมกว่า 10 บริษัท นับเป็นโรดโชว์ประเทศจีนครั้งแรกในรอบ 3 ปี ตั้งแต่เกิด การระบาดของโควิด – 19

“จีนถือเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของไทย และมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งด้านการลงทุน การค้า และการท่องเที่ยว หลังจากที่จีนเปิดประเทศ บีโอไอจึงได้เร่งจัดคณะมาเยือนจีน ซึ่งได้ผลสำเร็จอย่าง มาก นักลงทุนจีนให้ความเชื่อมั่น และยืนยันเลือกไทยเป็นฐานธุรกิจสำคัญในภูมิภาค โดยเฉพาะใน อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย ส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ของไทย ในช่วง 1 – 2 ปีข้างหน้า จะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เราต้อง รุกดึงการลงทุนจากจีน เพราะสถานการณ์โลกมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้บริษัทต่าง ๆ มีความจำเป็นต้องขยาย การลงทุนเพิ่มเติมจากฐานในประเทศจีน เพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ” นายนฤตม์กล่าว

ในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า คณะไทยได้พบกับผู้ผลิตรายใหญ่ของจีน 5 ราย ได้แก่ Changan Automobile, Geely, BYD, JAC และ Jiangling Motors (JMC) ซึ่งทั้ง JAC และ JMC เป็นผู้ผลิต 2 รถกระบะและรถบรรทุกไฟฟ้าชั้นนำ

โดยทุกรายแสดงความสนใจลงทุนผลิต EV ในประเทศไทย และสนับสนุน ไทยให้เป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค เนื่องจากมองว่าไทยมีนโยบายเชิงรุกในการส่งเสริม EV แบบ ครบวงจร มีซัพพลายเชนของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่พร้อมรองรับการผลิต EV อีกทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานและระบบ โลจิสติกส์ที่มีคุณภาพ และตลาดในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวสูง

นอกจากนี้ ทุกรายยังให้ความสนใจการขยาย มาตรการสนับสนุน EV หรือ EV 3.5 ที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) แล้ว เบื้องต้นคาดว่าจะมีการลงทุนจากกลุ่มนี้ไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท ใน 1 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ไม่รวม BYD ซึ่งได้ขอรับส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ EV และชิ้นส่วนในไทยแล้ว 6 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท

“ผู้ผลิต EV ของจีน ยืนยันมองไทยเป็นเป้าหมายลำดับแรกในภูมิภาค เพราะมีความพร้อมในทุก ๆ ด้านสำหรับการสร้างฐานอุตสาหกรรม EV ทั้งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปทั่วโลก อีกทั้งเห็น ตัวอย่างการเติบโตของบริษัทจีนรายอื่น ๆ ที่เข้าสู่ตลาดในไทยก่อนหน้านี้ เช่น MG, Great Wall Motor, BYD และ NETA ทำให้เกิดความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนมากขึ้น” นายนฤตม์ กล่าว

สำหรับรูปแบบการลงทุนในไทยจะมี 3 รูปแบบ คือ

  1. การลงทุนตั้งโรงงานเอง
  2. การร่วมทุนตั้งโรงงาน
  3. การจ้างผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

โดยบริษัทยานยนต์ไฟฟ้าของจีนที่กำลังวางแผนเข้ามาลงทุนในไทยมีการมองรูปแบบการลงทุนทั้ง 3 แนวทางไว้และอยู่ระหว่างการตัดสินใจรูปแบบการลงทุน รวมทั้งบางรายมีการหารือกับพันธมิตรผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แล้ว

Changan Automobile ประกาศลงทุนในไทย 9,800 ล้านบาท พร้อมดันขายรถยนต์ไฟฟ้า

Advertisement

Advertisement
ฉางอัน ออโตโมบิล ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน ประกาศลงทุนในไทย 9,800 ล้านบาท เตรียมยื่นขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอ เพื่อสร้างฐานการผลิตรถยนต์ EV พวงมาลัยขวาแห่งแรกนอกประเทศจีน 1 แสนคัน เพื่อส่งออกทั่วโลก บีโอไอย้ำเดินหน้าดึงบริษัทชั้นนำลงทุน EV ดันไทยเป็นฐานการผลิตหลักของโลก
(20 เม.ย.2023) นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า จากการทำงานร่วมกับบริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งบีโอไอได้เดินทางไปพบผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่ประเทศจีน เมื่อต้นเดือนเมษายน 2023 เพื่อชี้แจงข้อมูลสำคัญประกอบการตัดสินใจในขั้นสุดท้าย รวมทั้งได้ตอกย้ำมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ และความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นฐานการผลิต EV ระดับโลก ส่งผลให้บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย และได้แถลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา ว่า…
บริษัทตัดสินใจลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการลงทุนครั้งใหญ่เป็นแห่งแรกนอกประเทศจีน ด้วยเงินลงทุน 9,800 ล้านบาท ในการจัดตั้งฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาทั้งประเภท BEV, PHEV, REEV (Range Extended EV) และแบตเตอรี่ กำลังการผลิตในระยะแรก 1 แสนคันต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งจำหน่ายตลาดในประเทศและส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ และแอฟริกาใต้
บริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล เป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและระบบขับขี่อัจฉริยะ และเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของจีน ด้วยยอดขายกว่า 2 ล้านคันในปีที่แล้ว มีสำนักงานใหญ่และฐานการผลิตหลักอยู่ที่มหานครฉงชิ่ง อีกทั้งได้มีการร่วมลงทุนกับบริษัทฟอร์ด และมาสด้า ผลิตรถยนต์ในจีนด้วย สำหรับแผนการลงทุนในประเทศไทยนั้น บริษัทเริ่มศึกษาข้อมูลการลงทุนในไทยตั้งแต่ปี 2563 และมีการหารือร่วมกับสำนักงานบีโอไอ ณ นครเซี่ยงไฮ้ อย่างใกล้ชิด ในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุนเชิงลึก รวมถึงได้ส่งทีมงานเดินทางมาพบกับผู้บริหารของบีโอไอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายครั้ง เพื่อหารือมาตรการสนับสนุนและรวบรวมข้อมูลประกอบการวางแผนการลงทุน
“การตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยของฉางอัน เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก อีกทั้งแสดงถึงความเชื่อมั่นของบริษัทที่มีต่อประเทศไทย ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ศักยภาพของตลาด นโยบายเชิงรุกในการส่งเสริม EV แบบครบวงจร รวมทั้งซัพพลายเชนที่พร้อมรองรับการผลิต EV โดยบริษัทได้เริ่มหารือกับซัพพลายเออร์ในไทย เพื่อให้ผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ส่งให้กับบริษัท ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการไทยทั้งรายเล็กและรายใหญ่ด้วย
“นอกจากนี้ บีโอไอจะเดินหน้าทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ดึงผู้ผลิต EV รายอื่น ๆ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ให้เข้ามาลงทุนเพิ่มเติม ควบคู่กับการส่งเสริมระบบชาร์จไฟฟ้าและ ecosystem ที่จำเป็น เพื่อให้ฐานอุตสาหกรรม EV ในประเทศไทยแข็งแกร่งยิ่งขึ้น” นายนฤตม์กล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบีโอไอได้อนุมัติให้การส่งเสริมโครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และไฮบริด (HEV) รวมทั้งหมด 26 โครงการ จาก 17 บริษัท รวมมูลค่าเงินลงทุน 86,800 ล้านบาท โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 คาดว่าจะมีการขอรับการส่งเสริมเพิ่มอีกอย่างน้อย 2 โครงการ จากบริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล ซึ่งวางแผนจะยื่นขอรับการส่งเสริมภายในเดือนพฤษภาคม และบริษัท GAC Aion ที่ได้มาหารือร่วมกับบีโอไอและกระทรวงอุตสาหกรรม

GAC AION พร้อมสร้างโรงงานในไทย ลงทุนกว่า 6,400 ล้านบาท ดันรถยนต์ไฟฟ้า

  

GAC AION หรือ GAC Group (Guangzhou Automotive Group) กว่างโจว ออโต้ คอร์ปอเรชั่น เตรียมปักหมุดลงทุนใน EEC ในประเทศไทย ตอกย้ำยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน

  • GAC AION กล่าวว่า เบื้องต้นได้เตรียมการที่จะมาลงทุนในไทย 100% โดยในการลงทุนจะเป็น GAC AION ถือครองสัดส่วนในจำนวนที่มากกว่า ด้วยกำลังการผลิต 100,000 คันต่อปี
  • GAC AION พร้อมลงทุนในประเทศไทย 1,300 ล้านหยวน หรือ ประมาณ 6,400 ล้านบาท
  • AION มีความต้องการใช้พื้นที่ในการตั้งโรงงานประมาณ 500 ไร่ แต่ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ระบบการขนส่งโลจิสติกส์ และระบบการดำเนินการอื่น ๆ แล้ว อาจต้องใช้พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มากกว่า 500 – 1,000 ไร่
  • EEC เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก Eastern Special Development Zon เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2558 ตั้งอยู่บริเวณในชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทยซึ่งถือเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่สามจังหวัดได้แก่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นภายในระเบียงเศรษฐกิจนี้ มีมูลค่าราว 14% ของทั้งประเทศไทย

ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังให้การต้อนรับนายเซียว หยง (Mr.Xiao Yong) รองประธานบริษัท GAC AION New Energy Automobile Company Limited (GAC AION) พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท GAC AION ซึ่งเป็น บริษัท ย่อยของรถยนต์ไฟฟ้าของ GAC Group (Guangzhou Automotive Group) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน

โดยระบุว่า GAC AION ให้ความสนใจจะเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์อีวีในประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลไทยสนับสนุนโครงการรถยนต์ EV และอุตสาหกรรมยานยนต์มาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เฉพาะแต่เรื่องของการทำการตลาดเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมและสนับสนุนในเชิงนโยบายและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ผ่านทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ

อีกทั้งในแง่ของมาตรฐานต่าง ๆ โดยไทยเสมือนเป็นผู้กำหนดทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ EV ในอาเซียนมาโดยตลอด ดังนั้น หากทาง GAC AION เข้ามาลงทุน จะทำให้ประเทศไทยเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในระดับอาเซียน และเกิดการยอมรับไปทั่วโลกมากยิ่งขึ้น

“การทำงานของบริษัท GAC AION นับว่าเติบโตเร็วมาก โดยใช้เวลาเพียง 5 ปี ก็สามารถก้าวขึ้นเป็น Top 3 ของตลาดรถยนต์ EV ในประเทศจีนแล้ว จึงนับเป็นเครื่องการันตีได้ว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ EV มีลู่ทางที่สดใส ซึ่งอาจไม่ใช่แค่เพียงรถยนต์ EV เท่านั้น ยังรวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการผลิตแบตเตอรี่ หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นต้น ขณะเดียวกันในเรื่องของมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการทดสอบ ก็ได้แจ้งกับทาง GAC AION ไปแล้วว่า ประเทศไทยมีศูนย์ทดสอบ

ยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (Automotive and Tyre Testing, Research and Innovation Center–ATTRIC) และยินดีหากทาง GAC AION จะนำรถยนต์เข้ามาทดสอบมาตรฐานหรือทำ R&D ในไทย ก็สามารถดำเนินการได้

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีการลงทุนของบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำระดับโลกถึง 17 แห่ง จาก 20 แห่ง โดยกระจายอยู่ใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดปทุมธานี ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร อาทิ BOSCH , DENSO , SUMITOMO YAZAKI , FAURECIA เป็นต้น ทำให้สามารถรองรับการเป็นห่วงโซ่การผลิตรถยนต์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในพื้นที่ EEC กว่า 40 แห่ง ซึ่งมีระบบการกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐานระดับสากล แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความเชื่อมั่นของประเทศเป็นอย่างยิ่ง” ดร.ณัฐพล กล่าว

ด้าน นายเซียว หยง รองประธานบริษัท GAC AION กล่าวว่า เบื้องต้นได้เตรียมการที่จะมาลงทุนในไทย 100% แต่หลังจากที่ได้ไปหารือกับหลายหน่วยงาน อาทิ EEC และ BOI ก็ทำให้เกิดแนวคิดการหาผู้ร่วมลงทุน

โดยในการลงทุนจะเป็น GAC AION ถือครองสัดส่วนในจำนวนที่มากกว่า และตั้งเป้าผลิตรถยนต์ EV ในไทยให้ได้ 100,000 คันต่อปี นอกจากการตั้งโรงงานการผลิตรถยนต์ EV แล้ว ยังขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการผลิตแบตเตอรี่ด้วย ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนในประเทศไทยของ GAC AION เบื้องต้น อยู่ที่ประมาณ 1,300 ล้านหยวน หรือ ประมาณ 6,400 ล้านบาท

ปัจจุบันบริษัท AION ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าระบบอัตโนมัติ การผลิตเทคโนโลยี Robot และอุตสาหกรรมการบินและการคมนาคมอื่น ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่รถยนต์ EV เท่านั้น แต่จะขยายไปยัง Eco System ในด้านอื่น ๆ โดย AION มีความต้องการใช้พื้นที่ในการตั้งโรงงานประมาณ 500 ไร่ แต่ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ระบบการขนส่งโลจิสติกส์ และระบบการดำเนินการอื่น ๆ

อาจต้องใช้พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มากกว่า 500 – 1,000 ไร่ และนักลงทุนเป็นชาวต่างชาติ มีความเป็นไปได้ว่าต้องตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม หรือสวนอุตสาหกรรม จึงจะได้รับสิทธิในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยได้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ BOI ให้การส่งเสริมอยู่

บริษัท GAC AION ก่อตั้งขึ้นตาม GAC Motor New Energy Branch โดยโรงงานแห่งแรกของ AION ได้เริ่มการผลิตในเดือนเมษายน 2562 และในปี 2565 มียอดขายรถยนต์ EV ถึง 2.5 ล้านคัน มูลค่ากว่า 5 แสนล้านหยวน ทำให้บริษัทฯ ติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศจีน ที่มียอดการจำหน่ายรถยนต์ EV สูงที่สุด และเป็นอันดับที่ 186 ของโลก จากการจัดอันดับของฟอร์จูน โกลบอล 500 (FORTUNE Global 500) ของบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจากการประเมินรายได้

Media.thaigov.go.th

Advertisement

Advertisement

คุณไม่สามารถคัดลอกเนื้อหาของหน้านี้ได้