
ก่อนที่จะเข้าเรื่องเรามาทำความรู้จักกับ ถุงลมนิรภัย หรือ แอร์แบ็ก (AIR BAG) กันสักหน่อย เพราะในปัจจุบันการใช้รถยนต์มีมากขึ้น ผู้คนต้องการรถยนต์ และ ที่ขาดไม่ได้คือระบบความปลอดภัยทั้งโครงสร้างภายนอก และ ความปลอดภัยภายในห้องโดยสารที่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยชีวิตคือ ถุงลมนิรภัย
Airbag ถุงลมนิรภัย คืออะไร
สำหรับ แอร์แบ็ก (ถุงลมนิรภัย) เป็นอุปกรณ์เสริมที่จำเป็นและสำคัญสำหรับรถยนต์ ถุงลมนิรภัยมีการออกแบบมาเพื่อเวลาที่รถเกิดอุบัติเหตุ ถุงลมจะช่วยลดแรงกระแทก บริเวณหน้าอกและศีรษะไม่ให้รุนแรงถึงแก่ชีวิต จุดที่ติดตั้งถุงลมนิรภัยในรถยนต์ จะสังเกตเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษติดเอาไว้คือ SRS
ตำแหน่งของถุงลมนิรภัย
ตำแหน่งถุงลมนิรภัยในรถรุ่นเก่าจะเริ่มที่ 1 ตำแหน่ง และพัฒนาขึ้นเป็น 2 ตำแหน่ง และในรถยนต์ราคาแพงหน่อยจะมีถุงลมนิรภัย 4 – 6 ตำแหน่ง บางรุ่นมีมากถึง 8 ตำแหน่งเลยทีเดียว
การทำงานของถุงลมนิรภัย
ถุงลมนิรภัยทำมาจากถุงไนลอนหรือโพลีเอไมด์ที่บรรจุแก๊สไนโตรเจนไว้ภายใน โดยทั่วไปจะบรรจุแก๊สได้ประมาณ 60-70 ลิตร จะพองตัวอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการกระแทก หลายคนคงสงสัยว่าแก๊สไนโตรเจนขนาดนั้นจะเก็บไว้ที่ไหน เพราะขนาดถุงลมเล็ก แต่ความจริงคือ แก๊สที่ว่าไม่ได้ถูกเก็บไว้ในรูปแบบแก๊ส แต่เก็บไว้ในรูปแบบของแข็งชื่อโซเดียมเอไซด์ (sodium azide, NaN3) บรรจุไว้ในส่วน inflator จะเกิดปฏิกิริยาสลายตัวกลายเป็นโลหะโซเดียมและแก๊สไนโตรเจนเมื่อได้รับความร้อนจากตัวตรวจจับการชน (crash sensor) ตามภาพ
การทำงานจะประกอบด้วยเข็มจุดระเบิด และ ลูกบอลเหล็กที่อยู่ในกระบอก ปกติล้อพระจันทร์ครึ่งเสี่ยวจะดันเข็มที่จุดระเบิดไว้ แต่ถ้ารถชนอย่างรุนแรง ลูกบอลจะมีแรงความเฉื่อยมากเคลื่อนไปข้างหน้าจนดันแขนให้เปิดออก ทำให้ล้อพระจันทร์ครึ่งเสี่ยวเปิดออก สปิงที่อยู่ในเข็มจุดระเบิดจะดีดให้เข็มไปกดปุ่มระเบิดอย่างรวดเร็ว ทำให้ัถุงลมทำงานอย่างรวดเร็ว แต่การทำงานของระบบถุงลม (SRS) จะไม่ทำงานถ้าหากรถมีการเคลื่อนที่ต่ำ
ถุงลมนิรภัยดีจริง หรือ เป็นภัยร้าย
อาจจะทำให้หลายคนวิตกกังวลกับระบบถุงลมนิรภัยไม่น้อยเมื่อข่าวของบริษัทชั้นนำด้วยถุงลมนิรภัย TAKATA เอเจนซีส์ – ทากาตะ คอร์ป ผู้ผลิตถุงลมนิรภัยสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งถูกปรับเงินหลายพันล้านดอลลาร์จากปัญหาถุงลมนิรภัยระเบิด เตรียมยื่นขอศาลพิทักษ์ทรัพย์จากการล้มละลาย (bankruptcy)
ความบกพร่องของถุงลมนิรภัยทากาตะส่งผลให้ผู้ขับขี่รถยนต์เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตอย่างน้อย 16 รายทั่วโลก และทำให้ค่ายรถกว่า 10 แห่งต้องประกาศเรียกคืนถุงลมเกือบ 100 ล้านชิ้น ซึ่งปัญหาที่ว่านี้เกิดจากสารเคมีขับเคลื่อนแอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้ถุงลมนิรภัยกางออกอย่างรุนแรงเกินไป ส่งผลกระบอกสูบโลหะแตก และพ่นเศษโลหะมีคมปลิวกระจายออกมาใส่ร่างผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
บางคนบอกว่าถ้ามีแล้วอันตรายอย่างมีดีกว่า แต่ในความเป็นจริงถุงลมนิรภัยคือความปลอดภัยที่ต้องมี เพราะสามารถช่วยชีวิตคนได้ และค่ายรถยนต์หลายค่ายต่างทุมเงินลงทุนเพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยนี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ในกรณีของทากาตะ เป็นความผิดพลาดร้ายแรงในทางเทคนิค ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยเมื่อถุงลมพองตัวจนต้องล่มละลาย
ปัจจุจัยที่ทำให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน
ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ภัยถึงตายได้
เหตุผมมันง่ายๆคือ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตเพราะเมื่อเกิดการชนอย่างแรง แรงปะทะที่เกิดจากการชน จะส่งผลให้ท่านลอยไปข้างหน้าอย่างไร้ทิศทางและถุงลมเอง ก็พองตัวอย่างรวดเร็วในเสี่ยววินาที ทำให้แรงถุงลม และ แรงกระแทกที่รุนแรงยิ่งทวีคุูณอย่างรวดเร็ว และเป็นเหตุให้บาดเจ็บมากขึ้น หรือถึงขั้นเสียชีวิต ถึงแม้ปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่ๆจะมีระบบถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยระบบจะตัดการทำงานของถุงลมนิรภัยทันที ยังไงก็ควรคาดเข็มขัดนิรภัยดีกว่า อุ่นใจกว่าเยอะ
รถยนต์ที่เก่า และมีไฟเตือนของระบบถุงลมนิรภัย
รถยนต์อายุมากๆ มักมีอะไรพัง หรือ เสื่อมเป็นธรรมดาเช่นเดียวกับระบบความปลอดภัยย่อมมีการเสียได้ หรือบางอย่างที่ผิดปกติเช่น ไฟเตือนระบบถุงลมนิรภัย แสดงว่าท่านควรจะนำรถเข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็คสภาพโดยด่วน นั่นหมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว แต่หลายคนคงคิดว่าไม่เป็นไร คงยังไม่พังมาก แต่ปลอดภัยจะไม่ดีกว่าหรอ
ความประมาทของผู้ขับขี่
ขับรถแรงเกินลิมิต คิดว่ารถยนต์มีถุงลมรอบคัน ยังไงก็ไม่ตาย การคิดแบบนี้คือการฆ่าตัวตายชัดๆ เพราะไม่มีถุงลมไหนในโลกที่สามาถรับแรงกระแทกมหาศาลเมื่อขับความเร็วสูง ยิ่งปะทะกับขนาดใหญ่แบบเต็มๆ บอกคำเดียวว่าไม่เหลือซาก เพราะฉะนั้นอย่าประมาท ขับขี่อย่างปลอดภัยดีกว่า
ถุงลมนิรภัยเป็นอีกระบบหนึ่งที่ช่วยคุณจากการเกิดอุบัติ จากแรงปะทะ แต่ทั้งหมดคือ คุณอย่าประมาทในการขับขี่เพราะทุกอย่างมันมีลิมิตของมัน
ขอบคุณข้อมูล www.manager.co.th , www.directasia.co.th